กระเพาะปัสสาวะของเด็กแต่ละคนเก็บปัสสาวะได้ไม่เท่ากัน เด็กบางคนจะไวต่อความรู้สึกมาก แค่รู้สึกว่ากระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะอยู่นิดนึง ก็จะรู้สึกอยากปัสสาวะแล้ว ถ้าลูกน้อยทิ้งช่วงห่าง ของการปัสสาวะแต่ละครั้งไม่ถึง 2 ชั่วโมง ก็ให้ดูอาการเขาไปสักพักก่อน เพราะนี่อาจเป็นเพราะ โครงสร้างของร่างกายที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่ รอสักอีกนิด อาจจะใกล้ถึงเวลาที่เขากำลังจะก้าวไป อีกขั้นก็ได้ แต่ว่าถ้าอายุระหว่าง 2 ปีครึ่ง ถึง 3 ปีแล้ว ก็เริ่มได้เลย เพราะถ้าเริ่มช้ากว่านี้จะทำให้ ลูกน้อยติดผ้าอ้อมหรือรู้สึกกังวลเมื่อห่างจากผ้าอ้อม และอาจส่งผลกระทบต่อการฝึกเข้าห้องน้ำ ได้
ไม่ใช่เรื่องต้องกังวลเลย ถ้าในครั้งแรกๆ ที่พาลูกน้อยเข้าห้องน้ำแล้วไม่มีปัสสาวะออกมา ขั้น แรกต้องให้เขาคุ้นเคยกับสถานที่ก่อน ถ้าพามาห้องน้ำบ่อยๆ แต่ยังไม่ปวดปัสสาวะ ลูกน้อยจะ เริ่มสับสนและไม่เข้าใจว่ามาห้องน้ำทำไม ดังนั้นไม่ใช่ว่าพอคุณพ่อคุณแม่นึกออกตอนไหนก็พา เขามาเข้าห้องน้ำ คุณแม่ควรหัดกะเวลาที่ลูกน้อยเก็บปัสสาวะไว้พอสมควรแล้ว และควรคอย สังเกตอาการของลูกน้อยว่าอยากเข้าห้องน้ำเมื่อไหร่จึงค่อยพาเขาไป เช่น เมื่อเห็นลูกน้อย กระสับกระส่าย หรือเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมไปแล้วเกือบ 2 ชั่วโมง ให้ลองถามลูกน้อยดูว่า “อยากไป ฉี่ที่ห้องน้ำไหมลูก” เพื่อให้เขาได้เชื่อมโยงห้องน้ำกับการปัสสาวะ
ถ้าเมื่อไรลูกน้อยเกลียดการเข้าห้องน้ำขึ้นมา ให้ลองคิดหาเหตุผลดูว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เช่น ห้องน้ำมืดหรือเปล่า กลัวเสียงชักโครกหรือเปล่า โถนั่งเย็นไปหรือเปล่า ลูกนั่งไม่สบายหรือ เปล่า เป็นต้น ค่อยๆคิดหาสาเหตุจนเจอเหตุผลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มความอุ่นใจ ให้ลูกน้อย ลองตกแต่งห้องน้ำด้วยสติ๊กเกอร์น่ารักๆ หรือใช้ฝารองนั่งชักโครกสำหรับเด็ก เพื่อช่วย ให้เขานั่งโถได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าไม่ว่าทำอย่างไรลูกก็ไม่อยากเข้าห้องน้ำอยู่ดี ก็ให้หยุดการฝึกไว้ ก่อน และรอสัญญาณอยากปัสสาวะจากลูก จากนั้นค่อยเริ่มกันใหม่อีกครั้งก็ไม่สาย
นั่นเป็นเพราะลูกน้อยยังไม่เข้าใจว่า กระโถนกับห้องน้ำคือที่สำหรับขับถ่าย ถึงเขาเล่นก็ไม่จำ– เป็นต้องไปดุเขา เพราะแสดงว่านี่ยังไม่ถึงเวลาที่ลูกน้อยพร้อม พยายามต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นถ้าทุกครั้งที่พยายามฝึกเข้าห้องน้ำแล้วเขาทำแบบเดิม ให้ลองหยุดการฝึกไว้สักพักก่อน ในระหว่างนั้นก็พาลูกน้อยไปดูเพื่อนใช้กระโถนหรือห้องน้ำ ให้ดูรูปภาพในหนังสือหรือวีดีโอเพื่อ สอนให้เขาเข้าใจความหมายของห้องน้ำมากขึ้น การทำให้บรรยากาศการพาไปห้องน้ำเป็นเรื่อง สนุกสนานเพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับห้องน้ำและกระโถนนั้นก็ดี แต่ต้องไม่ทำให้เขารู้สึกว่านี่คือของ เล่น เพราะจะทำให้วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของเราเสียไป
จากคำถามของคุณแม่ “อยากฉี่หรอลูก” อาจทำให้ลูกน้อยเข้าใจผิดว่า “ฉี่ไปแล้วหรือยัง” ก็เป็น ได้ บางทีเมื่อปัสสาวะแล้วลูกน้อยอาจรู้สึกไม่สบายตัว และอยากบอกความรู้สึกนี้กับคุณแม่ด้วย ถ้าเป็นเช่นนี้อาจเป็นไปได้ว่าลูกน้อยยังไปไม่ถึงขั้นที่สามารถบอกว่าปวดปัสสาวะก่อนที่จะ ปัสสาวะออกมาจริงๆ แต่การที่ลูกปัสสาวะแล้วค่อยมาบอกเรานั้นก็ถือว่าเป็นพัฒนาการก้าวใหญ่ แล้ว คุณแม่เองก็ควรชวนลูกน้อยคุยไปเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับห้องน้ำอย่างเดียวจะเป็น การดีที่สุด
คุณแม่อาจจะเจอเหตุการณ์ที่ ลูกน้อยส่งสัญญาณอยากไปห้องน้ำ แต่ปัสสาวะซะก่อน โดยไม่ สามารถกลั้นจนถึงห้องน้ำได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็อย่าเพิ่งทำหน้าผิดหวังใส่ลูกน้อยล่ะ ให้สร้างความ มั่นใจให้เขาแทน เช่นพูดว่า “ฉี่แล้วเหรอลูก ดีแล้วจ้ะ” เพราะการไปห้องน้ำไม่ทันนั้นไม่ใช่เรื่อง ที่ล้มเหลวเลย ในทางตรงกันข้ามนี่จะทำให้ลูกน้อยรับรู้ถึงความรู้สึกที่ปัสสาวะไหลมาบนขา และเข้าใจได้ว่ามีปัสสาวะออกมาจากร่างกายของเขาแล้ว จุดสำคัญอย่างหนึ่งคือ ควรใส่เสื้อผ้า ที่ถอดง่ายๆให้ลูก เพื่อที่จะสามารถถอดได้ทันทีเพื่อห้องน้ำในเวลาที่ต้องการ
การที่ลูกเข้าห้องน้ำได้ก่อน 2 ขวบ อาจเป็นเพราะช่วงเวลาที่พอเหมาะก็เป็นได้ ในความเป็นจริง แล้ว การที่ลูกน้อยไม่เข้าห้องน้ำบ่อยเท่าแต่ก่อน จะมีสาเหตุมาจากระยะห่างของการปัสสาวะ ของลูกเพิ่มขึ้นมากกว่า ช่วงเวลาที่พอเหมาะสำหรับปัสสาวะกับการที่ลูกรู้สึกและบอกได้เองว่า อยากจะปัสสาวะนั้นเป็นคนละเรื่องกัน แต่นี่ถือว่าลูกน้อยสามารถใช้ห้องน้ำเป็นแล้ว ซึ่งแสดงว่า สอบผ่านขั้นตอนแรกของการฝึกแล้วด้วย
เหตุการณ์เช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยกลับไปเป็นแบบเดิมหรอก เมื่อไหร่ที่ลูกน้อย สามารถเข้าใจว่ามีปัสสาวะสะสมแล้วนะ เขาจะเริ่มส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้ว่าจะ ปัสสาวะ หรือไม่ก็บอกคุณพ่อคุณแม่เองได้ ไม่ต้องรีบร้อนหรอก ค่อยสังเกตการพัฒนาของเขา แบบสบายๆดีกว่า
เมื่อลูกน้อยสามารถบอกว่าเขาอยากจะเข้าห้องน้ำได้มากครั้งขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดอยาก จะเลิกใช้ผ้าอ้อมทันที แต่ว่าการฝึกลูกน้อยเข้าห้องน้ำนี้ พัฒนาการของลูกมีขึ้นๆลงๆเป็นเรื่อง ธรรมดา ถ้าลูกน้อยพบเรื่องอื่นที่น่าสนุกน่าสนใจกว่า เรื่องปัสสาวะก็จะกลายเป็นเรื่องรองลงมา เลย การที่ปัสสาวะออกมาแล้วแต่กลับบอกว่า "เปล่า" นี่ไม่ใช่เพราะเขาไม่เชื่อฟัง แต่อาจจะ เพราะตอนนั้นไม่ได้คิดถึงการปัสสาวะมากกว่า ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ให้ลองสังเกตลูกน้อยดู อีกที ถึงแม้บางทีคุณแม่อาจจะถามหาเหตุผลจากลูกน้อยว่า "ทำไมถึงไม่บอกแม่" เขาก็อาจจะ ไม่สามารถอธิบายได้อยู่ดี แต่สิ่งที่หลงเหลืออยู่ในใจลูก ก็มีแต่จะจำได้ว่าถูกคุณพ่อคุณแม่ดุ เท่านั้น
นอกจากนี้ถ้าคุณแม่เกลียดการที่ลูกน้อยปัสสาวะรดกางเกง แล้วชวนลูกน้อยไปห้องน้ำบ่อยๆนั้น ในที่สุดลูกน้อยอาจจะกลายเป็นคนที่ปัสสาวะบ่อยหรือไม่ก็ไม่ยอมบอกแม้ว่าจะปัสสาวะไปแล้ว ก็เป็นได้ ทางที่ดีควรรอให้ลูกน้อยบอกออกมาเองเวลาจะไปห้องน้ำ และออกปากชมหลังจาก เขาขับถ่ายที่ห้องน้ำเรียบร้อยแล้ว การทำเช่นจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกน้อยอยากบอกเราเวลา อยากขับถ่ายมากขึ้น ทั้งยังทำให้อยากใช้ห้องน้ำมากขึ้นด้วย การที่ลูกน้อยมาถึงขั้นนี้แสดงว่า ก้าวหน้าไปมากแล้ว แต่อย่าลืมล่ะว่าลูกน้อยก็มีโอกาสที่จะกลับไปเป็นแบบเดิมก็ได้อีกเหมือน กัน
การอุจจาระนั้นแตกต่างจากการปัสสาวะเพราะต้องใช้การเบ่งร่วมด้วย ดังนั้นมีเด็กหลายคนเลย ที่จะเลือกสถานที่ที่ตนเองรู้สึกสบายใจที่สุดในการถ่ายอุจจาระ การที่ลูกน้อยไปหลบอยู่หลังผ้า– ม่านอาจเพราะอาย กลัวคนเห็น หรือเป็นเพราะกำลังตั้งอกตั้งใจในการเบ่งอยู่ก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นลูกน้อยทำท่าจะอุจจาระแล้วรีบพาเขาไปห้องน้ำเลยก็เป็นวิธีหนึ่ง ทว่าเด็กแต่ละคนไม่ เหมือนกัน บางคนถูกบังคับพาไปห้องน้ำแล้ว อาจกังวลใจ กลายเป็นอุจจาระไม่ออกก็มี ดังนั้น ปล่อยให้เขาอุจจาระไปก่อน แล้วตอนพาไปล้างก้นค่อยคอยกระตุ้นเขาว่า "คราวหน้า เราไปอึที่ ห้องน้ำกันดีกว่านะลูก"
นอกจากนี้ในบางกรณีที่ลูกน้อยแอบไปอุจจาระ อาจเป็นเพราะเคยโดนดุมาก่อนเรื่องที่อุจจาระ เลอะกางเกง หากเคยดุลูกน้อยไปแบบนั้น ครั้งหน้าหลังจากที่ลูกน้อยอุจจาระแล้วให้บอกเขาว่า “อึแล้วเหรอลูก ดีแล้วจ้ะ” เพื่อทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายกับการอุจจาระมากขึ้น
ในช่วงแรกให้ใส่ผ้าอ้อมไว้อุ่นใจกว่า เพราะไม่ใช่ว่าการใส่ผ้าอ้อมนี้จะทำให้สิ่งฝึกไปไร้ผล อย่างไรก็ดีเมื่อใส่ผ้าอ้อมให้ลูกแล้วอย่าคิดว่าไม่เป็นไร ก่อนออกจากบ้านให้ปลูกฝังนิสัยที่ดี โดยการชวนเขาเข้าห้องน้ำก่อนเสมอ
นอกจากนี้ ควรหาข้อมูลไว้ล่วงหน้าด้วยว่าสถานที่ที่จะไปนั้น เด็กๆเข้าห้องน้ำตรงไหนได้บ้าง เมื่อไปถึงสถานที่นั้นแล้ว ถ้าใกล้ถึงเวลาที่ปกติลูกน้อยจะเข้าห้องน้ำ ให้ถามเขาด้วยว่า "อยากฉี่ ไหมลูก”
เมื่อมีลูกคนถัดมา ลูกคนก่อนอาจกลับไปทำตัวเด็กกว่าเดิมก็ได้ ตอนที่พาลูกคนเล็กกลับมาบ้าน ก็มักจะมีสิ่งที่เปลี่ยนไปหลายอย่าง จากที่เคยมีคุณแม่เพียงคนเดียว พอมีน้องขึ้น ลูกคนโตอาจ จะทำตัวเช่นนี้ เพราะอยากให้คุณแม่สนใจ คุณแม่ควรพยายามเข้าใจเขา และอย่าไปกดดันด้วย การถามคำถามว่า “ทำไมทำตัวแบบนี้ล่ะ! เราเป็นพี่แล้วนะ รู้ไหม”
ถึงแม้ลูกจะค่อยมาบอกหลังปัสสาวะออกมาแล้วก็ตาม ก็ควรเพิ่มความมั่นใจให้เขารู้สึกภูมิใจใน ตัวเอง เช่น พูดว่า “ขอบใจนะที่บอกแม่ สมกับเป็นพี่ชาย/พี่สาวจริงๆ ไม่เหมือนน้องเลยยังบอก แม่ไม่ได้” แล้วก็ตอนที่ลูกคนเล็กหลับก็ให้ใส่ใจลูกคนโตให้เต็มที่ แสดงให้เขาเห็นว่าแม่ไม่ได้ เปลี่ยนไปและยังรักเขาเหมือนเดิม ไม่นานนักลูกจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมเอง ที่อุตส่าห์ฝึกฝน กันมานั้นไม่สูญเปล่าแน่นอน เพราะร่างกายของเด็กมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นก่อนที่ลูก จะปัสสาวะเขาสามารถบอกเราได้แน่นอน
การที่ลูกน้อยยังทำไม่ได้สักทีนั้นเป็นเพราะร่างกายยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา ถ้าลูกน้อยทำไม่ ได้แล้วไปดุเขา มีแต่จะเพิ่มความเครียดให้ลูกไปกันใหญ่ ซ้ำร้ายจะไปหยุดยั้งพัฒนาการของ เขาอีก กลไกควบคุมการปัสสาวะนั้น จะต่างกันออกไปในเด็กแต่ละคน ดังนั้นคุณแม่ไม่ควร เปรียบเทียบลูกของตัวเองกับลูกคนอื่นแล้วไปดุเขาเพราะเหตุนี้ อีกทั้งการที่เลิกใส่ผ้าอ้อมช้า นั้นไม่ใช่ความผิดของคุณแม่เลย ช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร อย่าไปเร่งรัดลูก เพราะไม่ช้าก็จะสามารถ บอกลาผ้าอ้อมได้แน่นอน
และแน่นอน ถ้าคุณแม่นั้นกำลังยุ่งอยู่หรือไม่สบาย ก็อาจจะอารมณ์เสียได้ง่าย แต่หลังจากนั้น แล้วต้องกลับมาใคร่ครวญว่า สิ่งที่ทำไปนั้นไม่ควรเลย หลังจากดุลูกน้อยไปแล้วอารมณ์เย็นขึ้น ให้พาเขาเล่นให้สนุกสนานเพื่อรักษาแผลใจของเขาด้วย
ตรวจสอบข้อมูลโดย :
รศ.พญ.ประสบครี อึ้งถาวร
อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก