ก่อนอื่น ลองสังเกตสัญญาณดังนี้
เมื่อลูกน้อยปัสสาวะทิ้งช่วงห่างกันมากขึ้นในตอนกลางวัน และเมื่อตรวจดู ผ้าอ้อมในตอนเช้าก็พบว่าผ้าอ้อมไม่เปียก เพราะลูกน้อยไม่ปัสสาวะใน ตอนกลางคืน นี่ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฝึกลูกให้เข้าห้องน้ำแล้ว ในขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ให้คุณแม่พูดด้วยเสียงที่อ่อนโยนว่า “ฉี่เหรอลูก งั้นเรามาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ สบายตัวกันดีกว่านะ” การทำเช่นนี้จะช่วยเชื่อมความเข้าใจของลูกน้อยระหว่างการกระทำที่เป็นการ ปัสสาวะกับคำพูด เช่น คำว่า "ปัสสาวะ" หรือ "ฉี่" หรือคำอื่นใดก็ได้ที่คุณแม่อาจจะใช้
เพื่อการฝึกที่มีประสิทธิภาพ ในช่วงฝึก คุณแม่อาจเปลี่ยนชนิดผ้าอ้อมให้ลูกน้อยใช้ผ้าอ้อมแบบกางเกง และใช้ฝารองนั่งชักโครกสำหรับเด็กร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนี้การเอาหนังสือรูปภาพที่มีรูปห้องน้ำหรือโถ ส้วมให้ลูกน้อยดูก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ในขณะเดียวกัน ทางคุณพ่อคุณแม่ก็ควรใช้ห้องน้ำให้ลูกน้อย เห็นด้วยเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
ถ้ายังไม่สามารถจับช่วงห่างของปัสสาวะและอุจจาระของลูกน้อยในแต่ละครั้งได้ คุณแม่ควรทำบันทึก เก็บข้อมูลการขับถ่ายของลูกน้อยเอาไว้จะเป็นการดี
หากสังเกตว่าลูกน้อยเริ่มทิ้งช่วงปัสสาวะห่างกันมากขึ้น ก็ถึงเวลาแล้วที่ควรทำ ไดอารี่การเข้าห้องน้ำ! มาเริ่มบันทึกกันตั้งแต่การเปลี่ยนผ้าอ้อมในตอนตื่นนอนช่วง เช้า หลังจากนั้นสัก 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมง ให้ตรวจดูผ้าอ้อมอีกที และทำเช่นนี้ ไปเรื่อยๆ โดยไม่ขัดจังหวะกิจกรรมประจำวันของลูกน้อย เช่น ตอนรับประทาน อาหารและตอนนอนกลางวัน ถ้าบันทึกแบบนี้ไปสัก 2-3 วัน ก็จะสามารถนำข้อมูลนี้ ไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ดีในการฝึกลูกน้อยได้
●การดาวน์โหลด
ไดอารี่การเข้าห้องน้ำนี้เป็นไฟล์ PDF ซึ่งออกแบบให้พิมพ์บนกระดาษขนาด A4 โดยต้องใช้โปรแกรม "Adobe Reader" ในการพิมพ์หลังจากที่ดาวน์โหลดแล้ว ถ้า หากไม่มีโปรแกรม สามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้
ก่อนอื่นต้องให้ลูกน้อยเข้าใจว่าห้องน้ำคือสถานที่สำหรับการขับถ่ายซะก่อน ลองกะช่วงเวลาที่ลูกน้อยจะปัสสาวะดู แล้วพาลูกน้อยไปนั่งบนโถส้วม พร้อม ทั้งกระตุ้นไปด้วย เช่น การทำเสียง “ฉี่......ฉี่......” ช่วงที่เหมาะจะทำเช่นนี้ ได้แก่ ช่วงหลังตื่นนอนตอนเช้าถ้าผ้าอ้อมที่ใส่ไม่เปียกหรือหรือหลังการนอน ตอนกลางวัน เนื่องจากนี่เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยสั่งสมปัสสาวะไว้มาก และ โอกาสที่จะปัสสาวะเมื่อพาไปนั่งโถส้วมจะมีสูง
ถ้าพาไปห้องน้ำแล้วลูกน้อยปัสสาวะไม่ออก ก็ไม่ต้องผิดหวัง! ให้ลอง พาไปห้องน้ำวันละ 3 ครั้งก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องเร่งทำทั้งวัน
ถ้าลูกน้อยสามารถปัสสาวะเมื่อพาไปเข้าห้องน้ำได้แล้ว ให้ลองเริ่มสังเกต เวลาที่ลูกน้อยปวดปัสสาวะดูกัน เช่น ในระหว่างที่ลูกเล่นอยู่ ถ้าเห็นอาการ กระสับกระส่าย หรือเอามือกุมที่เป้าแล้วล่ะก็ ให้ถามลูกน้อยว่าจะ "ฉี่" หรือ "อึ" ไหม และจากนั้นให้ชวนไปเข้าห้องน้ำ เมื่อทำอย่างนี้แล้ว จะทำให้ลูก น้อยเข้าใจได้ว่า ความรู้สึกอย่างนี้คือการปวดปัสสาวะหรือปวดอุจจาระ
สิ่งสำคัญคือ การชวนลูกน้อยไปห้องน้ำควรทำในเวลาที่ถูกต้อง เช่น เมื่อปวดปัสสาวะ แต่ถ้าลูกน้อยไม่รู้สึกอยากจะปัสสาวะหรืออุจจาระ แล้ว ชวนไปห้องน้ำก็ไม่ได้ทำให้เป็นผล และอย่าลืมล่ะว่า ถ้าลูกน้อย ไปเข้าห้องน้ำไม่ทันแล้วปัสสาวะกลางทาง ก็อย่าเผลอไปดุหรือทำ ท่าผิดหวังเชียว
ในการฝึกช่วงนี้ ลูกน้อยจะสามารถบอกคุณพ่อคุณแม่ก่อนที่จะขับถ่าย ได้แล้ว แม้ไม่สามารถบอกเป็นคำพูดได้ แต่เมื่อไหร่ที่ลูกน้อยวิ่งมาหาแล้ว แสดงท่าทางให้ถอดผ้าอ้อมออก หรือทำมือชวนไปเข้าห้องน้ำ นั่นแสดงว่า ลูกน้อยใกล้จะบอกลาผ้าอ้อมได้อย่างสมบูรณ์แล้ว และเมื่อไหร่ที่ลูกน้อย สามารถบอกคุณพ่อคุณแม่ก่อนขับถ่ายได้ อย่าลืมชมลูกด้วยล่ะ!
ถึงแม้ลูกจะเริ่มบอกคุณพ่อคุณแม่ได้มากขึ้นเรื่องเข้าห้องน้ำ แต่ก็ไม่ จำเป็นต้องรีบร้อนเลิกใช้ผ้าอ้อมทันที เพราะจะทำให้หงุดหงิดรำคาญ ใจเปล่าๆ ถ้าลูกน้อยเกิดลืมบอกขึ้นมา
การฝึกลูกน้อยเข้าห้องน้ำนั้น พัฒนาการของลูกน้อยอาจมีขึ้นมีลงได้ ตลอดเวลา ผ่านขั้นแรกมาแล้วแต่มาสอบตกขั้นที่สองก็มีเยอะไป ถึงแม้ ลูกน้อยจะเก่งขึ้นแล้วไม่จำเป็นว่าต้องรีบเลิกใช้ผ้าอ้อมทันที ควรปล่อยให้ เป็นไปตามจังหวะการพัฒนาของลูกน้อยจะดีกว่า
ในกรณีที่ลูกมีพัฒนาการช้าหรือกลับมาเป็นแบบเดิม ให้หยุดการฝึกไป ก่อนชั่วคราว แล้วค่อยมาเริ่มใหม่ก็ยังไม่สาย
รู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ควรหยุดฝึกลูกน้อย
การฝึกเข้าห้องน้ำสามารถเป็นเรื่องสนุกได้ทั้งสำหรับคุณพ่อคุณแม่และ ลูกน้อย ที่สำคัญคือต้องไม่เครียด ไม่เร่งรัด และไม่ดุลูกน้อย พยายาม เข้าใจว่าสำหรับลูกน้อยแล้ว การปัสสาวะและอุจจาระในผ้าอ้อมนั้นถือ เป็นเรื่องธรรมดามาตลอดตั้งแต่เล็กๆ
โดยเฉพาะครั้งแรกที่เข้าขับถ่ายในห้องน้ำ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ดุ หรือทำท่า ผิดหวัง นี่ล่ะจะทำให้ลูกน้อยไม่อยากลองฝึกเข้าห้องน้ำอีก
ดังนั้นถึงแม้ลูกน้อยจะไปเข้าห้องน้ำไม่ทันและปัสสาวะซะก่อนที่จะถึง ห้องน้ำ หรือปัสสาวะเสร็จแล้วค่อยบอก ก็ให้พูดกับลูกน้อยดีๆว่า "สบาย ตัวขึ้นแล้วใช่ไหมลูก"
เด็กๆนั้นชอบรอยยิ้มของคุณแม่ที่สุดเสมอ ยิ่งถ้าชมเขาด้วยแล้ว ลูกน้อย ยิ่งจะมีความรู้สึกอุ่นใจและมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เมื่อคุณแม่ช่วยเชื่อม โยงความรู้สึกปวดขับถ่ายกับคำพูด เช่น "ฉี่" หรือ "อึ" ได้แล้ว นี่จะเป็นตัว ช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยบอกคุณแม่ในคราวหน้าที่รู้สึกอยากขับถ่ายได้
ตรวจสอบข้อมูลโดย :
รศ.พญ.ประสบครี อึ้งถาวร
อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก