ข้อมูลและเคล็ดลับสำหรับแม่และลูกน้อย

ฝึกการเข้าห้องน้ำ
ข้อมูลเบื้องต้นที่ควรรู้

กลไกการทำงานของปัสสาวะกับการพัฒนาของสมอง

ลูกน้อยต้องมีการพัฒนาทางร่างกายและระบบประสาทก่อนที่คุณแม่จะเริ่มฝึกให้เข้าห้องน้ำได้ สำหรับ ลูกน้อยแรกเกิดนั้น ในวันหนึ่งจะปัสสาวะเยอะมาก นั่นเป็นเพราะกระเพาะปัสสาวะเก็บปัสสาวะได้น้อย เมื่อมีปริมาณปัสสาวะเพียงนิดเดียว เด็กทารกก็จะปัสสาวะออกมาแล้ว

แต่เมื่อลูกน้อยโตขึ้น ขนาดของกระเพาะปัสสาวะก็จะโตขึ้นด้วย และร่างกายก็เริ่มมีฮอร์โมนที่ยับยั้งการ ผลิตปัสสาวะในตอนกลางคืน ในขณะเดียวกัน สมองก็จะมีการพัฒนาและเมื่อร่างกายเริ่มสั่งสมปริมาณ ปัสสาวะเพิ่มขึ้น สมองจะสั่งการให้รู้ว่า "เก็บปัสสาวะแล้ว" หรือ "ได้เวลาปัสสาวะแล้ว"

เมื่อเริ่มพัฒนาไปเช่นนี้แล้ว ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าการปวดฉี่นั้นรู้สึกอย่างไร นี่จึงเป็นขั้นแรกของหนทางสู่ การบอกลาผ้าอ้อม

ในปัจจุบัน การฝึกลูกน้อยเข้าห้องน้ำนั้นไม่นิยมเรียกว่าเป็น "การถอดผ้าอ้อมออก" แล้ว แต่ได้เปลี่ยนมา เรียกว่า ”การบอกลาผ้าอ้อม” มากกว่า โดยเมื่อร่างกายและสมองของลูกน้อยพร้อม ลูกน้อยก็จะสามารถ บอกลาผ้าอ้อมไปได้เอง แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับแล้วอย่างแพร่หลาย

toilet_basic_01_01

เด็กทารกปัสสาวะบ่อยเพราะ.....

  • กระเพาะปัสสาวะขนาดยังเล็ก ไม่ สามารถเก็บปัสสาวะปริมาณเยอะ ได้
  • สมองยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ เพียงนิดเดียว ก็จะปัสสาวะออกมา แล้ว

toilet_basic_01_02

เมื่อโตขึ้น...

  • ขนาดของกระเพาะปัสสาวะโตจะตาม ไปด้วย และสามารถเก็บปริมาณปัสสาวะ ได้มากขึ้น
  • กระเพาะปัสสาวะจะส่งสัญญาณไปยัง สมองว่า "เก็บฉี่เต็มแล้ว" และสมองก็จะ ส่งสัญญาณกลับไปยังกระเพาะปัสสาวะ ว่า "ได้เวลาฉี่แล้วนะ"

toilet_basic_01_03

toilet_basic_01_03

toilet_basic_01_03@sp


ก่อนจะฝึกให้ลูกน้อยเข้าห้องน้ำ

toilet_basic_02_main

แม้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองจะพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งแล้ว แต่ ก็ใช่ว่าลูกน้อยจะสามารถเข้าห้องน้ำเป็นเลยทันที ก้าวแรกของการฝึกเข้า ห้องน้ำนั้นคือ การที่ลูกน้อยสามารถรับรู้ได้ถึงการปวดปัสสาวะ แต่ถึงลูก น้อยจะรับรู้ถึงการปวดปัสสาวะได้แล้วก็ตาม ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องเรียนรู้ จนกว่าจะเลิกปัสสาวะในผ้าอ้อมได้ในที่สุด

ยังมีบางเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ ก่อนที่ลูกน้อยจะบอกคุณพ่อคุณแม่ เวลาที่ปวดปัสสาวะหรืออุจจาระได้ รวมถึงการอั้นการขับถ่ายจนกว่าจะถึง ห้องน้ำด้วย

การพัฒนาทางความคิดจะช่วยให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะทางการสื่อสาร และ รับรู้ว่าห้องน้ำคือสถานที่สำหรับขับถ่ายได้ นอกจากนี้ จะยังช่วยให้ลูก น้อยบอกลาผ้าอ้อมได้อย่างถาวรด้วย


อะไรคือการฝึกเข้าห้องน้ำ

ถึงจะเรียกว่าการฝึกก็เถอะ แต่แท้จริงแล้วนี่ไม่ใช่การฝึกที่ทรหดสักเท่าไร อีกทั้งไม่ได้หมายความว่า ยิ่ง รีบฝึกเท่าไรจะยิ่งทำให้ลูกบอกลาผ้าอ้อมได้เร็วขึ้นเท่านั้น การสอนอย่างเข้มงวด หรือดุลูกไม่ได้ทำให้ เขาเรียนรู้เพิ่มขึ้นเลย ในทางตรงกันข้าม ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อยจะกลับรู้สึกเครียดกันไปใหญ่

เคล็ดลับคือ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยถึงสัญญาณที่บ่งบอกว่าจะปัสสาวะ และรับมือกับสัญญาณ เหล่านั้นให้เหมาะสม

ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกน้อยปัสสาวะออกมาในผ้าอ้อมแล้วเห็นทำท่าไม่สบายตัว ลองถามแบบใจเย็นว่า “ฉี่ เหรอลูก งั้นเรามาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้สบายตัวกันดีกว่านะ” หลังจากนั้นจึงเริ่มเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อย ถ้า สังเกตเห็นว่าลูกน้อยกำลังอั้นปัสสาวะอยู่ ก็ให้ชวนลูกไปห้องน้ำ ลองทำตามนี้ไปเรื่อยๆเพื่อแสดงให้ลูก น้อยเห็นว่าการไปเข้าห้องน้ำก็เป็นเรื่องสนุกได้!

เด็กแต่ละคนนั้นจะเริ่มฝึกเข้าห้องน้ำในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้ว คุณแม่ควรเริ่มเมื่อลูก น้อยอายุประมาณ 2 ปีจะดีกว่า

สังเกตสัญญาณปวดปัสสาวะของลูกน้อยให้ดี!

เห็นท่าทางลูกน้อยแบบนี้ รู้ได้เลยว่าปวดปัสสาวะแล้ว แต่ว่าหลายครั้งที่ลูกน้อยปัสสาวะไปแล้วก็ทำท่า แบบเดียวกันนี้ก็มีเยอะ เพราะฉะนั้นอย่าคิดมากล่ะ!

toilet_basic_03_main

  • จู่ๆก็หยุดอยู่กับที่
  • กระสับกระส่าย
  • ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด
  • ทำท่าไม่สบายตัวจับผ้าอ้อม
  • จู่ๆก็หงุดหงิด
  • ส่งเสียงเรียกร้องความสนใจ
  • เอามือกุมเป้า

ตรวจสอบข้อมูลโดย :
รศ.พญ.ประสบครี อึ้งถาวร
อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก

Page Top