ลักษณะการปัสสาวะเเละการอุจจาระจะมีการเปลี่ยน– แปลงไปตามการเจริญเติบโตของลูกน้อย โปรดดู ตารางด้านล่างเป็นข้ออ้างอิงสำหรับข้อมูลการขับถ่าย อย่างไรก็ดี การขับถ่ายอาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ ละคน
องค์ประกอบทั่วไปของนมผงในปัจจุบัน มีความคล้าย– คลึงกับนมแม่ค่อนข้างมาก ดังนั้นอุจจาระของลูกน้อย จึงไม่แตกต่างกันมากเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม ข้อแตก– ต่างบางประการสามารถสังเกตเห็นได้ในอุจจาระปกติ ของเด็กแรกเกิด - 4 เดือน เนื่องจากนมจะเป็นอาหาร หลักของเด็กในช่วงนี้
หมายเหตุ
"ปกติอุจจาระของลูกก็เหลวอยู่แล้ว แบบไหนถึงเรียก ได้ว่าท้องเสียกันล่ะ" คุณเเม่หลายคนอาจเคยประสบ ปัญหาเช่นนี้ เเต่ในทางตรงกันข้าม หากลูกขับถ่ายน้อย คุณแม่ก็อาจจะสงสัยว่าลูกน้อยจะท้องผูกหรือไม่ เพื่อ ให้คุณแม่ไม่ต้องคอยกังวล คุณเเม่สามารถตรวจสอบ อาการต่างๆได้ง่ายๆจากตารางด้านล่างนี้
*1 ภาวะที่ขาดน้ำ
เป็นอาการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมาก มักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีอาการท้องเสียหรือมีไข้ติดต่อกันนานๆ สัญญาณที่บ่งบอก
ถึงภาวะขาดน้ำเห็นได้จากการที่ปริมาณปัสสาวะลดลง ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตาไหลออกมา ผิวหนังซีด เหนื่อยหรือง่วงง่าย ถ้าเจออาการเหล่านี้ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
*2 ท้องเสียโดยอุจจาระออกสีขาว
เป็นอาการติดเชื้อเนื่องมาจากไวรัสโรต้า หรือไวรัสคาร์ลิซิ (Calicivirus) มักพบในฤดูหนาว โดยอาการจะอาเจียน กระทันหัน หลังจากนั้นจะท้องเสียอย่างรุนแรง อุจจาระจะออกสีขาว ไม่นานจะมีลัษณะคล้ายน้ำซาวข้าว อาจมีไข้ร่วม ด้วย และทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย ให้รีบพาไปพบแพทย์
*3 โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด (Hirschsprung's disease)
โรคลำไส้โป่งพองแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ปมประสาท(Ganglion cell) ที่อยู่ในผนังลำไส้ ทำให้ ลำไส้เคลื่อนตัวได้ไม่ดี จึงเป็นอุปสรรคต่อการส่งผ่านอุจจาระทำให้เกิดอาการท้องผูก มักพบในระยะแรกเกิด
คุณเเม่สามารถตรวจเช็คสุขภาพของลูกน้อยได้จาก การเปลี่ยนผ้าอ้อม เนื่องจากปัสสาวะและอุจจาระเป็น ตัวชี้วัดที่ดีของสภาพร่างกาย ก่อนที่จะทิ้งผ้าอ้อมให้ คุณแม่คอยสังเกตทุกครั้งว่า ลักษณะของปัสสาวะเเละ อุจจาระ มีความเเตกต่างไปจากเดิมหรือไม่ การสังเกต เช่นนี้ จะสามารถช่วยให้คุณแม่พบอาการป่วยของลูก น้อยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ถ้าพบสิ่งที่ผิดปกติใน ปัสสาวะหรืออุจจาระของลูกน้อย คุณแม่ควรปรึกษา แพทย์ โดยนำผ้าอ้อมที่ใช้แล้วไปด้วย ในกรณีที่พบ เลือดในอุจจาระ คุณแม่ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
นอกจากเช็คผ้าอ้อมของลูกน้อยเเล้ว คุณเเม่สังเกตได้จากสิ่งอื่นด้วย!
ผิวของลูกน้อยอมชมพูเหมือนเดิมหรือไม่
เวลาเล่นด้วย ลูกน้อยตอบสนองปกติ หรือหงุดหงิดง่าย
ลูกน้อยดื่มนมแม่ นมผง หรือรับประทานอาหารเสริมได้ตามปกติหรือไม่
ลูกน้อยมีอาการที่ผิดปกติอื่นๆ เช่น มีไข้ อาเจียร มีผื่นขึ้น หรือดูเจ็บ ปวดเวลาขับถ่าย
ข้อสงสัยเกี่ยวกับปัสสาวะ
ถ้าปัสสาวะของลูกจะสีเข้มกว่าปกติ แต่ไม่มีอาการอื่นๆ โดยลูกยังอารมณ์ดี กินนมหรืออาหารได้ตามปกติ โดยทั่วไปเมื่ออากาศร้อนเเละเหงื่อออกมาก อาจจะทำปัสสาวะน้อยลง สีก็อาจจะเข้มขึ้นได้
ถ้าปัสสาวะเป็นสีแดงหรือชมพูเข้ม อาจเป็นไปได้ว่าในปัสสาวะมีเลือดปน ควร จะพาลูกน้อยพร้อมกับนำผ้าอ้อมไปพบเเพทย์ เมื่อมีอาการดังกล่าว
ถ้าปัสสาวะในผ้าอ้อมมีกลิ่นฉุน เมื่อใช้ผ้าอ้อมเป็นเวลานาน นี่เป็นกลิ่นปกติ ของเเอมโมเนียในปัสสาวะ พบได้มากในขณะเปลี่ยนผ้าอ้อมในตอนเช้า เนื่อง จากผ้าอ้อมได้ดูดซับปัสสาวะตลอดทั้งคืน อย่างไรก็ดี ในตอนกลางวันคุณแม่ ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อยอยู่เสมอ
ถ้าลูกน้อยมีไข้อย่างต่อเนื่องสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส แต่กลับไม่มีอาการ อื่นๆ เช่น น้ำมูกไหล หรือ ไอ เมื่อผ่านไปสองถึงสามวัน แล้วลูกน้อยยังมีไข้ สูงอยู่ ควบคู่กับปัสสาวะมีกลิ่นฉุนต่างไปจากปกติ นี่อาจเป็นอาการของโรค ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ1
เป็นอาการที่พบน้อยในเด็กเล็ก เเต่ถ้าลูกน้อยเป็นเด็กผู้ชาย ก็มีโอกาสที่จะ เป็นโรคอักเสบที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Balanoposthitis) 2 ได้ ใน บางครั้ง ถึงจะไม่มีหนองติดในผ้าอ้อม
(ปลายอวัยวะเพศบวม แต่ปัสสาวะออกมาเป็นแค่สายบางๆ) นี่อาจเป็นอาการ ของโรคอักเสบที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ควรรีบพาลูกน้อยไปพบเเพทย์ ทันที
ช่วงอากาศร้อน จะทำให้เหงื่อไหลออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้ปัสสาวะลด น้อยลงตามไปด้วย ตราบใดที่ลูกน้อยยังปัสสาวะทุก 3-4 ชม. ก็ไม่มีอะไรต้อง กังวล
ในช่วงยังเป็นเด็กทารกและรับประทานนมอยู่ หากลูกน้อยไม่ปัสสาวะเกินครึ่ง วัน ควรรีบพาไปพบเเพทย์ทันที เพราะอาจเกิดอาการเสียน้ำได้3
ข้อสงสัยเกี่ยวกับอุจจาระ
เป็นไปได้ที่ลูกน้อยจะมีอาการของลำไส้กลืนกัน4 ควรรีบพาลูกไปพบเเพทย์ ในทันที
ถ้าอุจจาระของลูกน้อยไม่เหลวขนาดท้องเสีย เเต่อุจจาระมีสีซีดหรือสีครีม เป็นไปได้ว่าจะมีอาการท่อน้ำดีตีบตันแต่กำเนิด*5 ควรรีบพาลูกไปพบเเพทย์ ทันที
ถ้าอาการท้องเสียรุนเเรงขึ้น อุจจาระสีซีดเเละเป็นน้ำเหลว (ลักษณะเหมือน น้ำซาวข้าว) อาจเป็นการติดเชื้อไวรัสโรต้า*6
ลูกน้อยอาจมีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร*7 อย่างไรก็ตาม อาการนี้ไม่ พบบ่อยในเด็กเล็ก
ถ้าอาหารที่รับประทานเข้าไป มีส่วนผสมของเนยหรือน้ำมันเยอะ อุจจาระของ ลูกน้อยอาจมีเมือกติดออกมา (เหมือนน้ำมูกจากจมูก) แต่ไม่ต้องกังวลไป
ถ้าอุจจาระออกมาเป็นเมือกและมีเลือดปน อาจเป็นสาเหตุมาจากสำไส้กลืน กันจากเชื้อแบคทีเรีย
อาหารบางชนิดที่มีส่วนประกอบของเส้นใยอาหารสูง อาจถูกขับออกมาโดย ไม่ได้รับการย่อย คุณแม่ไม่ต้องกังวล เมื่อลูกน้อยโตขึ้น ระบบย่อยอาหารจะ พัฒนาขึ้นเอง
1 - โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย โดยติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ (ซึ่งรวมถึงไต, กรวยไต, ท่อไต, กระเพาะปัสสาวะ, ท่อปัสสาวะ,ท่อที่เชื่อมต่อจากกระเพาะปัสสาวะมายังอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อระบายของเหลว) ไม่มี อาการของโรคชัดเจน นอกจากมีไข้ ลูกน้อยจะมีอาการหงุดหงิดจากการไม่สบายตัว ถึงแม้ว่าโรคติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะนี้จะไม่สามารถตรวจจับได้จากกลิ่นปัสสาวะเพียงอย่างเดียว แต่คุณแม่อาจจะใช้วิธีสังเกตความผิดปกติ จากกลิ่นปัสสาวะที่ฉุนกว่าปกติได้
2 - โรคอักเสบที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย
เป็นการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายและส่วนหัวขององคชาติมักเกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เมื่อ อักเสบมากขึ้น อาจมีหนอง หรือน้ำเหลืองไหลออกมา บางครั้งก็มีเลือดไหลด้วยทำให้ปัสสาวะมีสีแดง อาการจะเริ่มจาก
คันก่อน สำหรับเด็กอายุ 2-3 ปี คุณแม่อาจสังเกตเห็นว่าลูกชายมักจะเป็นกังวลกับอวัยวะเพศของเขาจนเกินความ จำเป็น
3 - ภาวะที่ขาดน้ำ
เป็นอาการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมาก มักจะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อมีอาการท้องเสียหรือมีไข้ติดต่อกันนานๆ สัญญาณที่บ่งบอก
ถึงภาวะขาดน้ำเห็นได้จากการที่ปริมาณปัสสาวะลดลง ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตาไหลออกมา ผิวหนังซีด เหนื่อยหรือง่วงง่าย ถ้าเจออาการเหล่านี้ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์
4 - ภาวะลำไส้กลืนกัน
ภาวะลำไส้กลืนกันเกิดขึ้นเมื่อลำไส้เล็กส่วนหนึ่งม้วนตัวเข้าไปอยู่ในอีกส่วนหนึ่งของลำไส้เล็ก เป็นภาวะที่พบได้บ่อยใน
เด็กอายุตั้งแต่ 4เดือน ถึง 1ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กผู้ชาย เป็นโรคที่เกิดแบบเฉียบพลัน หนึ่งในอาการเฉพาะคือ ปวดเกร็งปานกลางบริเวณท้องถึงปวดมากเป็นช่วงๆ บางครั้งจะดูเหมือนว่าลูกน้อยอาการทุเลาลง แต่ยังร้องไห้หนักอยู่ อาการลักษณะนี้จะเกิดให้เห็นได้บ่อยๆ แม้ว่าลูกจะไม่ได้ถ่ายเป็นเลือดแต่ถ้าความอยากอาหารน้อยลง และงอแงอย่าง หนักเป็นช่วงๆ ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันทีเพื่อรับการรักษา
5 - โรคท่อน้ำดีอุดตัน
เป็นโรคที่ท่อน้ำดีอุดตันหรือถูกปิด ทำให้น้ำดีไม่สามารถไหลไปยังลำไส้เล็กส่วนต้นได้ อาการเฉพาะคืออุจจาระมีสีออก
ขาว แต่ไม่พบอาการท้องเสีย, ท้องผูก, หรือปวดท้องร่วมด้วย เมื่อพบว่าอุจจาระลูกค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีออกขาว ให้พา ไปพบแพทย์
6 - ท้องเสียโดยอุจจาระออกสีขาว
เป็นอาการติดเชื้อเนื่องมาจากไวรัสโรต้า หรือไวรัสคาร์ลิซิ (Calicivirus) มักพบในฤดูหนาว โดยอาการจะอาเจียน กระทันหัน หลังจากนั้นจะท้องเสียอย่างรุนแรง อุจจาระจะออกสีขาว ไม่นานจะมีลัษณะคล้ายน้ำซาวข้าว อาจมีไข้ร่วม ด้วย และทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย ให้รีบพาไปพบแพทย์
7 - ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
มีอาการเลือดออกในระบบย่อยอาหารส่วนบน เช่น กระเพาะหรือลำไส้เล็กตอนบน อุจจาระที่ออกมาจะมีสีดำคล้ายยาง มะตอย หากอุจจาระเปลี่ยนจากสีปกติคือสีน้ำตาลหรือสีเหลืองออกน้ำตาลกลายเป็นสีออกดำ ให้พาไปพบแพทย์
ตรวจสอบข้อมูลโดย :
รศ.พญ.ประสบครี อึ้งถาวร
อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก