ข้อมูลและเคล็ดลับสำหรับแม่และลูกน้อย

ผื่นผ้าอ้อม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับผื่นผ้าอ้อม

Basic Knowledge on Diaper Rash

ทั้งๆที่ระวังแล้ว ทำไมถึงได้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้นะ ลองมาดูสาเหตุกัน

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นผื่นผ้าอ้อม

ผื่นผ้าอ้อมคือการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่ผ้าอ้อมปิดอยู่ ทางการแพทย์เรียกว่า Diaper dermatitis บริเวณก้นจะแดง ลักษณะคล้ายผด ผื่นร้อน การอักเสบนั้นจะมีอาการแสบคัน ถ้าเป็นมากขึ้น อาจมีเลือด ซึมออกมาด้วย

นอกจากนั้นผื่นผ้าอ้อมอาจกระจายไปยังบริเวณที่อยู่นอกผ้าอ้อมด้วย เช่น เอวและรอบต้นขา อาการ อักเสบที่ต้นขาตรงจุดที่สัมผัสกับผ้าอ้อมโดยตรงก็นับว่าเป็นผื่นผ้าอ้อมเช่นกัน

ข้อแตกต่างระหว่างผื่นร้อนและผื่นผ้าอ้อมคือ การอักเสบจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อมเท่า นั้น แต่ในหน้าร้อน ที่เกิดผื่นร้อนภายในผ้าอ้อมได้ง่าย คุณแม่หลายคนก็อาจเข้าใจผิดว่า นั่นคือผื่น ผ้าอ้อมก็มีเหมือนกัน

เช็คว่าเป็นผื่นผ้าอ้อมหรือไม่

อาการแบบนี้ เป็นสัญญาณว่าเกิดผื่นผ้าอ้อมแล้ว

  • ขณะเช็ดก้น ลูกน้อยดูเจ็บและร้องไห้
  • เมื่อก้นลูกน้อยสัมผัสกับน้ำขณะอาบน้ำ ลูกน้อยร้องอย่างรุนแรง
  • เมื่อถอดผ้าอ้อมออก ลูกน้อยคันและเกาที่ก้น

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อมคืออะไร

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อมนั้นไม่ได้มีเพียงสาเหตุเดียว แต่ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย สาเหตุอันดับต้นๆมัก มาจากการใส่ผ้าอ้อมเปียกเป็นระยะเวลานานเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้ง่าย

diaperrash_01_01

diaperrash_01_01

diaperrash_01_01@sp

[คำแนะนำจากคุณหมอ]

เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวถูกทำร้ายจากสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ร่างกายได้สร้างกลไกปกป้องหลาย ชั้น แต่ในเด็กทารกกลไลป้องกันนี้ยังไม่สมบูรณ์ ภูมิคุ้มกันก็ยังทำหน้าที่ไม่ได้เต็มที่ ผิวจึงบอบบางและ ระคายเคืองได้ง่าย ยิ่งในเด็กทารกที่อายุยังน้อยนั้น เมื่อผิวหนังสัมผัสกับของเสียที่ร่างกายขับออกมา หลายครั้งเข้า ก้นก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคได้

ถ้าผ้าอ้อมไม่ได้ถูกเปลี่ยนนานๆ ความอับชื้นในผ้าอ้อมจะทำให้ผิวหนังย่นและระคายเคืองได้ง่าย โดย เฉพาะเมื่อมีอุจจาระและปัสสาวะอยู่ในผ้าอ้อม ค่า pH ของผิวหนังจะเพิ่มสูงขึ้น และยิ่งไปกระตุ้นให้ ผิวหนังระคายเคือง

นอกจากนี้การใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ขนาดไม่พอดี รัดแน่นไป ก็ทำให้เกิดการเสียดสีของผิวหนังกับ ผ้าอ้อม ก็จะให้ผิวหนังอักเสบได้เช่นกัน

สาเหตุอื่นที่นอกเหนือจากปัสสาวะและอุจจาระก็มีนะ!

รู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนขนาดของผ้าอ้อม

ขนาดของผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่พอเหมาะนั้นให้เลือกตามน้ำหนักตัวเป็นสำคัญ (ยกเว้นเด็ก แรกเกิด) อย่างไรก็ดี ถึงแม้น้ำหนักตัวจะเท่ากันก็ตาม แต่เด็กบางคนตัวใหญ่ ในขณะที่บาง คนอาจจะตัวเล็ก ดังนั้นจุดที่สำคัญอื่นๆในการเลือกขนาด คือ การวัดจากความพอดีของ ผ้าอ้อมช่วงเอวและต้นขา

หากใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปชนิดเทปให้ลูก โดยติดเทปเลยลำดับสุดท้ายที่ระบุไว้บนผ้าอ้อม แล้ว ช่วงท้องยังแน่นและไม่สามารถสอดนิ้วหนึ่งนิ้วเข้าไปได้ ก็ถึงเวลาเปลี่ยนขนาดผ้าอ้อม แล้ว นอกจากนั้น ถ้าถอดผ้าอ้อมออก และพบรอยรัดที่เอวและต้นขา นี่ก็เป็นตัวบ่งชี้ว่า ขนาดผ้าอ้อมไม่เหมาะสมเช่นกัน ควรเพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น

สัญญาณของการเกิดผื่นผ้าอ้อม

อาการที่ระบุข้างล่างเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดผื่นผ้าอ้อม คุณแม่ควรดูแลทำความ สะอาดก้นลูกน้อยเป็นพิเศษถ้าพบสิ่งเหล่านี้

  1. เมื่อถ่ายอุจจาระเหลวออกมามากๆ และความถี่ในการถ่ายเพิ่มขึ้น
  2. เมื่อท้องเสีย
  3. เมื่อไม่ได้เปลี่ยนผ้าอ้อมเป็นเวลานานๆ เช่น ช่วงเวลาที่ออกไปข้างนอกหรือตอนกลางคืน

[คำแนะนำจากคุณหมอ]

ปัจจุบันผ้าอ้อมสำเร็จรูปได้พัฒนาขึ้นมาก สามารถซึมซับและเก็บของเหลวได้เร็วและมีประสิทธิภาพ จึง ช่วยปกป้องให้ผิวลูกน้อยแห้งได้ ด้วยเหตุนี้ เด็กที่เป็นผื่นผ้าอ้อมในปัจจุบัน จึงมีลดลงมากเมื่อเทียบกับ เมื่อก่อน แต่ว่าผ้าอ้อมสำเร็จรูปนั้นก็ไม่สามารถซึมซับของแข็ง เช่น อุจจาระ ได้ ถ้าเด็กทารกนั้นในหนึ่ง วันถ่ายเหลวหลายครั้งหรือมีอาการท้องเสีย ผื่นผ้าอ้อมก็จะเกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน “ไวรัสโรต้า” ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้หวัดและอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ก็จะทำให้เด็กทารกเสี่ยงต่อการเป็นผื่น ผ้าอ้อมได้ง่ายด้วย

เชื้อราก็เป็นสาเหตุของผื่นผ้าอ้อมเหมือนกัน!

นอกจากความอับชื้นและเหงื่อที่ทำให้ผิวระคายเคืองได้นั้น เชื้อราก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผื่น ผ้าอ้อมได้เช่นกัน ในผ้าอ้อมที่ใช้แล้วจะมีเชื้อราที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ โดยปกติ ผื่นผ้าอ้อมจะเกิดตรง บริเวณที่ผิวสัมผัสกับผ้าอ้อม และอาจรวมถึงจุดที่ไม่ได้สัมผัสโดยตรงกับผ้าอ้อม เช่น รอยพับของผิว ก็ สามารถเกิดได้

โดยปกติอาการของผื่นผ้าอ้อม จะเห็นได้จากลักษณะเฉพาะของผิวที่เป็นรอยแดง โดยบริเวณรอบก็จะ เกิดผื่นเล็กๆ สีแดงปรากฏให้เห็นด้วย แต่ถ้าอาการของผื่นผ้าอ้อมเกิดขึ้นโดยมีเชื้อรารวมตัวอยู่ด้วย จนทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง สำหรับผื่นผ้าอ้อมชนิดนี้ การรักษาทั่วไปอาจไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นการทายาสเตียรอยด์จะทำให้อาการแย่ลง จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

เมื่อใดที่ใช้ยาที่ได้รับมาแล้วอาการแย่ลง ให้สงสัยว่าเป็นอาการผื่นผ้าอ้อมที่เกิดจากเชื้อรา หรือในอีก กรณี ก็เป็นไปได้ที่ผิวหนังอักเสบติดเชื้อจากยาที่ทา ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

[คำแนะนำจากคุณหมอ]

ผื่นผ้าอ้อมชนิดธรรมดา ถ้าทายารักษาผื่นผ้าอ้อมทั่วๆไปแล้ว จะเกิดผล 1 ใน 3 อย่าง:
1. หาย 2. ไม่หาย 3. แย่ลง

กรณีที่ไม่หาย อาจจะมาจากการทายาไม่ถูกวิธี หรือการอาบน้ำไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาบน้ำแค่ครึ่งตัว (เฉพาะช่วงล่างเวลาที่เด็กไม่สบาย) และก้นไม่สะอาด ในกรณีที่แย่ลง จะขึ้นอยู่กับยาที่ทาว่า ทำให้เกิด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อจากยานี้หรือไม่ นอกเหนือจากสาเหตุเกี่ยวกับผิวหนังอักเสบติดเชื้อจากยาทาแล้ว สาเหตุอื่นก็พบน้อยมาก


การดูแลประจำวันเพื่อป้องกันผื่นผ้าอ้อม

เพื่อป้องกันผื่นผ้าอ้อม เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ สาเหตุของมันกันก่อนดีกว่า! ถึงแม้คุณแม่จะไม่ สามารถหลีกเลี่ยงการไม่ให้ก้นลูกน้อยเลอะเทอะ เปรอะเปื้อนจากอุจจาระและปัสสาวะได้ แต่คุณแม่ก็ สามารถทำความสะอาดและรักษาสุขอนามัยให้ดีที่สุด ได้

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนผ้าอ้อมอยู่เสมอ

ในช่วงที่ลูกน้อยยังดื่มนมอยู่หรือเริ่มรับประทานอาหารอื่นบ้าง ควรเช็คผ้าอ้อมทุกครั้งหลังจากลูกน้อย ตื่นนอน ถ้าพบอุจจาระหรือปัสสาวะ ให้รีบเปลี่ยนผ้าอ้อมทันที อย่าปล่อยให้ผิวลูกเปียกชื้น

วิธีดูแลก้นลูกน้อยเมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อม

เช็ดก้นลูกน้อยอย่างเบามือด้วยสำลีชุบน้ำอุ่น โดยเช็ดไม่ให้มีปัสสาวะและอุจจาระเหลืออยู่ ไม่ควรเช็ด แค่ทวารหนักและอวัยวะเพศเท่านั้น ส่วนตรงต้นขา บริเวณท้อง และรอยพับของผิวหนังก็ควรทำความ สะอาดด้วย แต่ต้องระวังไม่เช็ดแรงจนกลายเป็นการถูก้น

สำหรับเด็กผู้หญิง

การเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศให้เช็ดจากด้านหน้ามาด้านหลัง เพราะถ้าเช็ดจากด้านหลังแล้ว จะทำ ให้เชื้อแบคทีเรียแพร่จากก้นมายังอวัยวะเพศของลูกน้อยได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ช่องคลอดหรือกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบได้ แต่ถ้าพบอุจจาระเหลวในบริเวณอวัยวะเพศ ให้ใช้นิ้วเปิดแคมลูกน้อยอย่างเบามือ แล้วเช็ดสิ่งสกปรกออกให้สะอาด

สำหรับเด็กผู้ชาย

ถ้าปัสสาวะ ให้เช็ดเบาๆที่ปลายของอวัยวะเพศไม่ให้ปัสสาวะเหลืออยู่ ถ้าลูกน้อยอุจจาระให้เช็ดอวัยวะ เพศอย่างทั่วถึง รวมถึงเช็ดด้านหลังของอัณฑะน้อยด้วย เพราะมักมีเศษอุจจาระเล็กๆ ติดอยู่

ล้างก้นทุกครั้ง เมื่อลูกน้อยท้องเสีย

เมื่อลูกท้องเสีย ก้นจะเลอะเทอะเต็มไปด้วยอุจจาระ การทำความสะอาดด้วยสำลีก้อนเล็กๆอย่างเดียวคง ไม่พอ การถ่ายซ้ำๆจะกระตุ้นให้ผิวหนังระคายเคืองได้ง่าย ดังนั้นควรล้างก้นลูกน้อยให้บ่อยเท่าที่จะทำ ได้ดีกว่า

อ่างล้าง

หลังเช็ดทำความสะอาดคร่าวๆรอบหนึ่งแล้ว ให้นำลูกน้อยมาล้าง เฉพาะส่วนก้นให้สะอาด วางก้นลูกน้อยในอ่างโดยใช้น้ำอุ่น เพื่อ ความสะดวกอาจล้างที่อ่างล้างหน้าก็ได้

ฝักบัว

ถ้าลูกน้อยสามารถนั่งเองได้แล้ว หรือสามารถยืนโดยคนช่วยพยุง ได้ คุณแม่ใช้ฝักบัวล้างก็ได้ แต่ระวังให้ดีไม่ให้ลูกน้อยลื่นล้ม

น้ำอุ่นในขวดพลาสติก

นี่เป็นวิธีล้างก้นแบบง่ายๆ ถ้าลูกน้อยยังคอไม่แข็ง เมื่อเปลี่ยน ผ้าอ้อมให้แกะผ้าอ้อมออก แต่ทิ้งไว้ในลักษณะนั้นก่อนถอดออก แล้วจึงเทน้ำอุ่นจากขวด เพื่อล้างก้นแบบเร็วๆได้

ดูแลให้ก้นลูกน้อยแห้งเสมอ

ความชื้นที่หลงเหลืออยู่ที่ผิว เป็นสาเหตุของความอับชื้น หลังจากที่ล้างก้นหรืออาบน้ำให้ลูกน้อยแล้ว ให้ใช้ผ้าเช็ดตัวนุ่มๆ ซับเบาๆให้ก้นแห้ง ถ้าก้นลูกน้อยแห้งดีแล้ว จึงค่อยใส่ผ้าอ้อม บางเวลาให้เอา ผ้าอ้อมออกบ้างเพื่อระบายให้ผิวลูกน้อยได้สัมผัสกับอากาศภายนอกบ้าง


การรักษาเมื่อเป็นผื่นผ้าอ้อม

หากเกิดอาการผื่นผ้าอ้อม ให้ดูแลลูกน้อยอย่างอ่อน– โยนเป็นพิเศษ ถ้ารักษาที่บ้านไม่หาย ควรรีบปรึกษา แพทย์

การดูแลก้นลูกน้อยและวิธีอาบน้ำ

โดยทั่วไปการดูแลนั้นไม่ต่างจากปกติ แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษคือ ต้องไม่ถูบริเวณที่ผิวลูกน้อย อักเสบ ให้นำสำลีไปชุบน้ำอุ่นให้ชุ่ม ล้างเฉพาะจุดที่เปื้อนให้สิ่งสกปรกออกมา ขณะอาบน้ำให้ใช้น้ำที่อุ่น น้อยกว่าที่ใช้อาบปกติ และก็ควรใช้สบู่หรือสบู่เหลวทำความสะอาดตัว แต่การใช้สบู่นั้นควรใช้แค่ วันละครั้งก็พอ ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งที่ล้างก้นลูกน้อย ถ้าใช้สบู่ล้างแล้วลูกน้อยรู้สึกแสบและร้องไห้ ควรหยุดใช้สบู่และล้างแค่น้ำอุ่นอย่างเดียว

เมื่อไหร่ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อเปลี่ยนผ้าอ้อมตอนเช้า แล้วพบว่าก้นลูกน้อยแดงจากการใส่ผ้าอ้อมตลอดทั้งคืน คุณแม่ควรเช็ดทำ ความสะอาดก้นแล้วสังเกตอาการต่อไป แต่ถ้าขณะเช็ดก้น ลูกร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด หรืออาการแดง ลุกลามไปส่วนอื่นอย่างรวดเร็ว คุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ และเพื่อให้หายได้เร็วขึ้น ควรใช้ยาที่ ได้รับมาจากแพทย์ควบคู่กับการดูแลรักษาที่บ้าน

เมื่อได้รับยาทามา

ยาชนิดไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

ยาทาผื่นผ้าอ้อมนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นยาบรรเทาอาการอักเสบ และไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (สารจำพวกครีมขี้ผึ้งที่มีส่วน ผสมของZinc) ก่อนใช้ให้ทำความสะอาดผิว โดยล้างสิ่งสกปรก ออกให้หมด แล้วใช้ปลายนิ้วแตะตัวยาทาบางๆที่ผิวลูก

ยาชนิดมีส่วนผสมของสเตียรอยด์

ถ้าใช้ทายาชนิดไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์แล้วไม่หาย แพทย์ อาจให้ยาทาแก้อักเสบที่มีฤทธิ์แรงขึ้นและมีส่วนผสมของ สเตียรอยด์ เวลาใช้ยา ให้ทาแต่น้อย เฉพาะบริเวณที่อักเสบมากๆ โดยไม่ถูบนผิวแต่ให้ทาไว้บางๆ และไม่ควรทาเลยไปจุดที่ไม่ได้ อักเสบ นอกจากนี้ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น หากหายแล้ว ให้หยุดใช้

ยาต้านเชื้อรา

การรักษาเชื้อรานั้นต้องใช้ยาที่มีส่วนผสมของสารต้านเชื้อรา ปัจจุบันมียาประเภทนี้ ซึ่งใช้ทาแค่วันละครั้งก็เพียงพอออกมา ด้วย หากทามากกว่า 1 ครั้งแล้ว อาจไปกระตุ้นให้อาการผื่น ผ้าอ้อมแย่ลง ควรใช้ยาอย่างเคร่งครัดตามแพทย์สั่ง

ตรวจสอบข้อมูลโดย :
รศ.พญ.ประสบครี อึ้งถาวร
อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก

Page Top