ถ้าเป็นกลางวันคงไม่มีปัญหา แต่นี่กลับปัสสาวะรดทุกคืน ในความเป็นจริงแล้วการปัสสาวะรดที่นอนถึงช่วงอายุ 3-4 ปี นี่เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้เป็นแค่ลูกน้อยของคุณคนเดียว เด็กๆ คนอื่นก็อาจเป็นเช่นกัน
การปัสสาวะรดที่นอน เกิดจากความไม่สมดุลของปัสสาวะ ขณะนอนหลับกับขนาดของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กลาง– คืนปัสสาวะรดออกมา โดยสิ่งที่เป็นตัวกำหนดปริมาณ ปัสสาวะ คือ “ฮอร์โมน ADH (Antidiuretic Hormone)” ส่วนขนาดของกระเพาะปัสสาวะถูกกำหนดจากการพัฒนา ของร่างกายทางชีววิทยา ซึ่งแต่ละคนจะต่างกันไป
ตอนกลางวัน แม้จะฝึกให้เข้าห้องน้ำได้ดีเพียงไร แต่การจะ เลิกปัสสาวะรดที่นอนจำเป็นต้องใช้เวลา เรามาทำความเข้า– ใจให้ถูกต้องกันดีกว่า เพื่อที่คุณแม่จะสามารถสังเกต ลักษณะการปัสสาวะของลูกน้อยได้ง่ายขึ้น
คำแนะนำจากคุณหมอ
หลังจากฝึกลูกน้อยให้เลิกใช้ผ้าอ้อมในเวลากลางวันได้แล้ว คุณแม่บางคน อาจยังพบว่าลูกน้อยยังปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนอยู่ คุณแม่อย่า รู้สึกผิดหวังไป เราควรแยกประเด็นการปัสสาวะของลูกน้อยใหม่ ว่าการฝึก เข้าห้องน้ำตอนกลางวันและกลางคืนนั้นไม่เหมือนกัน สำหรับการฝึกเข้า ห้องน้ำในตอนกลางวัน ความสำเร็จในการฝึกจะขึ้นอยู่กับว่าลูกน้อยสามารถ บอกคุณแม่ได้เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะหรือไม่ แต่สำหรับการปัสสาวะตอน กลางคืนนั้น ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการพัฒนาของร่างกายทางชีวภาพ มากกว่า
การปัสสาวะรดที่นอนนั้นไม่ได้เกิดจากความผิดของคุณแม่ หรือการที่ลูก น้อยพยายามไม่เพียงพอ แต่คุณแม่ควรรอให้พัฒนาการทางร่างกายของลูก น้อยถึงจุดที่เหมาะสมมากกว่า โดยส่วนใหญ่แล้วลูกน้อยจะเลิกปัสสาวะรด ที่นอนได้เอง เมื่ออายุ 5 ปีขึ้นไป
การปัสสาวะรดที่นอนก่อนอายุ 5 ปีนั้น มักเกิดจากเหตุผลทางชีววิทยา เช่น การที่ฮอร์โมน ADH หลั่งไม่ เพียงพอ1 หรือกระเพาะปัสสาวะยังมีขนาดเล็ก แม้นี่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่การหลั่งฮอร์โมนของเด็กแต่ ละคนนั้นยังแตกต่างกันมาก เด็กบางคนอาจปัสสาวะรดที่นอนอยู่ทุกคืนจนอายุ 4-5 ปี ถึงจะเป็นเช่นนั้น การปัสสาวะรดที่นอนก็จะสามารถหยุดไปเองได้ในที่สุด
อย่างไรก็ดี “โรคปัสสาวะรดที่นอน” ซึ่งเป็นโรคที่พบการทางแพทย์นั้น เกิดจากปัจจัยบางประการที่ทำให้ การหลั่งฮอร์โมน ADH ไม่เพียงพอ หรือปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่รบกวนลูกน้อยขณะนอนหลับ ทำให้ นอนหลับไม่สนิท ซึ่งหากลูกน้อยอายุเกิน 5 ปีแล้ว ยังปัสสาวะรดที่นอนอยู่ ให้ปรึกษาแพทย์
ทั้งคุณแม่และลูกน้อยต้องการผ่านช่วงเวลาที่ปัสสาวะรดที่นอนให้ได้ แบบสบายๆทั้งนั้น เมอร์รี่ส์จึงได้รวบรวมข้อมูลน่ารู้ที่ช่วยให้คุณแม่หลีก– เลี่ยงการกดดันลูกน้อยในช่วงนี้ ซึ่งจะทำให้คุณแม่สามารถเฝ้าดูการ พัฒนาของลูกน้อยได้อย่างมีความสุข
ไม่ควรปลุกให้ตื่นตอนกลางดึก ด้วยความที่กลัวว่าลูกน้อยจะปัสสาวะรดที่นอน ถึง แม้ว่าคุณแม่จะปลุกและพาลูกน้อยไปเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนก็ตาม แต่ลูกน้อยก็ยัง คงกึ่งหลับกึ่งตื่นอยู่ขณะที่ปัสสาวะอยู่ดี ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการปัสสาวะรดที่นอน เลย จริงๆแล้วนี่จะเป็นการขัดจังหวะการนอนของลูกน้อยมากกว่า
การให้ลูกน้อยได้หลับสนิทจนถึงเช้าจะเป็นทางที่ดีที่ช่วยให้เขาเลิกฉี่รดที่นอนได้ดี ที่สุด
การปัสสาวะรดที่นอนไม่ใช่เรื่องผิด เพราะลูกน้อยไม่ได้ตั้งใจและไม่สามารถควบคุม ได้ การโกรธนั้นจึงไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น เพียงแต่ช่วยเพิ่มความเครียดให้แก่ทั้งคู่ แม้ ว่าจะผิดหวัง และคิดว่า "ฉี่รดอีกแล้วหรอ!" แต่ขอให้คุณแม่อดทนและคอยเฝ้าดูลูก น้อยจนเลิกปัสสาวะรดที่นอนได้ในที่สุด
ในที่สุดลูกน้อยจะเลิกปัสสาวะรดที่นอนได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ได้เลิกได้จาก การฝึกฝนของคุณแม่หรือความสามารถของลูกน้อย มันไม่ใช่เรื่องยากที่จะให้ลูก น้อยใส่ผ้าอ้อมขณะนอนหลับ และอย่าหงุดหงิดโดยเอาลูกน้อยของคุณไปเปรียบ เทียบกับเด็กคนอื่น คุณแม่ไม่ควรเครียด แค่รอคอยวันที่ลูกน้อยเติบโตและเลิก ปัสสาวะรดที่นอนไปได้เองก็พอแล้ว
ใช้ผลิตภัณฑ์ดังนี้เพื่อช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยยิ้มได้ตลอดการฝึก
★แผ่นรองกันปัสสาวะรดที่นอน
ด้วยแผ่นรองกันน้ำนี้ จะช่วยให้ที่นอนไม่เปียก โดยสามารถปูแผ่นรองระหว่างผ้าปูที่นอนและตัวที่นอน
★หนังสือภาพ
เพื่อช่วยสร้างความอดทน เป็นไอเดียดีที่จะใช้เวลาอ่านหนังสือภาพร่วมกันกับลูกน้อยระหว่างช่วงเวลานี้
การปลุกลูกน้อยให้ไปเข้าห้องน้ำกลางดึก จะทำให้ลูกน้อยเลิกปัสสาวะรดที่นอนช้าลง สิ่ง สำคัญคือไม่ควรขัดจังหวะการนอนและควรให้ลูกน้อยหลับสนิทตอนทั้งคืน เพราะกลางคืนนั้นจะ มีการหลั่งฮอร์โมน ADH1 ออกมา ยิ่งปลุกลูกน้อยตอนกลางดึกมาก จะยิ่งทำให้การพัฒนาใน ส่วนนี้ช้าลง
ไม่จำเป็นเสมอไปโดยขึ้นกับเด็กแต่ละคน แต่ถ้าเป็นช่วงที่ฮอร์โมน ADH ยังหลั่งออกมาไม่ สมบูรณ์นั้น การดื่มเครื่องดื่มเป็นปริมาณมากๆก่อนนอน ก็อาจมีผลให้ปัสสาวะรดที่นอนได้
อย่างไรก็ดี ถ้าระวังเรื่องการปัสสาวะรดที่นอนมากเกินไป แล้วจำกัดปริมาณเครื่องดื่มจนลูกน้อย หิวน้ำก็ไม่ดีเช่นกัน ถ้าลูกน้อยต้องการดื่มก็ควรให้ดื่ม ส่วนคุณแม่เอง ควรสร้างทัศนคติว่าถ้าลูก น้อยปัสสาวะรดที่นอนก็ไม่เป็นไร ในขณะที่ไปเตรียมตัวกับจัดการกับปัสสาวะรดที่นอนไปพร้อม กันด้วยจะดีกว่า
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีเกลือสูง จะทำให้อยากดื่มน้ำมากขึ้น จึงควรให้ลูกน้อย รับประทานอาหารรสเค็มน้อยลงด้วย
คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วง! เพราะผ้าอ้อมไม่ได้ทำให้ช่วงการปัสสาวะรดที่นอนยาวนานขึ้น
การเลิกปัสสาวะรดที่นอน คือ การสร้างกลไกตามธรรมชาติระหว่างการนอนหลับของเด็กเอง และจำเป็นต้องให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาก แต่ถ้าปัสสาวะรดที่นอนแล้วเปียกจนทำให้ต้องตื่น ก็ ควรใช้ผ้าอ้อม เพื่อช่วยให้หลับสนิทยิ่งขึ้น แต่ถ้าลูกน้อยอายุ 3 ปีไปแล้ว ยังปัสสาวะใน ตอนกลางคืนมากขึ้นทั้งในด้านความเร็วและปริมาณ กางเกงพิเศษสำหรับการปัสสาวะรดที่นอน ก็สามารถช่วยให้ลูกหลับดีขึ้นได้
1 ADH (Antidiuretic Hormone)
เป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ที่ช่วยควบคุมปริมาณการปัสสาวะ ขณะที่หลับสนิทจะมีการหลั่ง ฮอร์โมนชนิดนี้ออกมา จะทำหน้าที่ในการควบคุมการดูดน้ำของไต ทำให้ปริมาณปัสสาวะ ตอนกลางคืนลดลง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ตอนกลางคืนจะมากขึ้น ทำให้ ปริมาณปัสสาวะตอนกลางคืนน้อยลง
ตรวจสอบข้อมูลโดย :
รศ.พญ.ประสบครี อึ้งถาวร
อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเด็ก